ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค)
คือ ประโยคที่รวมประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม เช่น
- เก่งทำงานบ้านและร้องเพลงเบา ๆ
- อาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
- หลานช่วยพยาบาลย่าจึงหายป่วยเร็ว
- ดีทูบีเป็นนักร้องแต่คัทรียาเป็นดาราภาพยนตร์
- เธอจะทานผลไม้หรือขนมหวาน
ข้อสังเกต สันธานใช้เชื่อมประธานหรือกริยาเป็นการเชื่อมประโยค
ประโยคความรวมแบ่งเป็นประเภทต่างๆตามเนื้อความ ดังต่อไปนี้
|
1. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน
คือประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกัน มีสันธานที่แสดงลำดับการกระทำก่อน หลัง เช่น
และ , แล้ว , แล้ว....ก็ , พอ...ก็ ,ครั้น..จึง ฯ
|
2. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน
คือ ประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน
ส่วนใหญ่จะมีสันธาน แต่ , แต่ทว่า , กว่า...ก็ , แม้ว่า เป็นตัวเชื่อม เช่น
กว่าเก้งจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว ( ประโยคนี้ละประธานของประโยคหลังไว้ในฐานที่เข้าใจ )
อากาศร้อนขึ้นแต่ผู้คนก็ยังตัดต้นไม้
แม้เธอจะไม่สวยเลิศเลอ เธอก็ยังได้เป็นนางงาม
|
3. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ ประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีเนื้อความให้เลือกเพียงอย่างเดียว มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ
เป็นตัวเชื่อม เช่น
พรุ่งนี้เธอจะทำรายงานหรือไม่
เธอต้องเขียนเรียงความนะมิฉะนั้นจะไม่ได้คะแนนเพิ่ม
พงศธรจะเป็นวิศวกรหรือสถาปนิก
|
4. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุผล
คือ ประโยคที่มีประโยคความเดียวประโยคหนึ่ง มีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยคหนึ่ง
มีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น เป็นตัวเชื่อม
เช่น เพราะเราเป็นเพื่อนกันเราจึงช่วยเหลือกันเสมอ
เราเข้าใจกันเราจึงเป็นเพื่อนกันได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น