วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประโยคในภาษาไทย



ประโยค หมายถึง ข้อความที่มีทั้งภาคประธาน และภาคแสดง  มีใจความสมบูรณ์ครบถ้วน รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
ประโยคแบ่งตามจำนวนเนื้อความได้ ๓ ชนิด คือ


๑. ประโยคความเดียว (เอกัตถประโยค) คือประโยคที่มีใจความเดียว คือมีบทประธานบทเดียว และบทกริยาเพียงบทเดียว เช่น 
  • ก้อยเล่นแบดมินตันที่สโมสร
  • รถของคุณแม่เสียบ่อย ๆ
  • เจ้าแต้มสุนัขข้างบ้านจะกัดเจ้าวุ่นของฉัน
  • ฉันกำลังอ่านหนังสือสารคดีด้วยความสนใจ
  • น้อง ๆ ชั้นปีที่ ๑ เชื่อฟังพวกเราพี่ชั้นปี ๒ อย่างดี
ข้อสังเกต ประโยคความเดียว สันธานที่ใช้เชื่อมบทกรรมหรือวิเศษณ์เป็นการเชื่อมคำ










ประโยคความเดียว  แบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด  คือ

๑.     ประโยคที่ไม่มีกรรมมารับ

ประโยค
ภาคประธาน
ภาคแสดง
ประธาน
ขยายประธาน
กริยา
ขยายกริยา
กรรม
ขยายกรรม
๑.  ฝนตก
ฝน
-
ตก
-
-
-
๒. หน้าต่างเปิด
หน้าต่าง
-
เปิด
-
-
-
๓. กระจกแตก
กระจก
-
แตก
-
-
-
๔. ต้นไม้โค่น
ต้นไม้
-
โค่น
-
-
-



๒.  ประโยคที่มีกรรมมารับ

 
ประโยค
ภาคประธาน
ภาคแสดง
ประธาน
ขยายประธาน
กริยา
ขยายกริยา
กรรม
ขยายกรรม
๑.  ตาปลูกผัก
ตา
-
ปลูก
-
ผัก
-
๒. แม่ซื้ออาหาร
แม่
-
ซื้อ
-
อาหาร
-
๓.  ตาดำปลูกผัก
ตา
ดำ
ปลูก
-
ผัก
-
๔. แม่ซื้ออาหารแล้ว
แม่
-
ซื้อ
แล้ว
อาหาร
-
๕.  ตาดำปลูกผักคะน้า
ตา
ดำ
ปลูก
-
ผัก
คะน้า
๖. แม่ของเธอซื้ออาหารแล้ว
แม่
ของเธอ
ซื้อ
แล้ว
อาหาร
-
๗. ตาดำปลูกผักคะน้าเมื่อวานนี้
ตา
ดำ
ปลูก
เมื่อวานนี้
ผัก
คะน้า
๘. แม่ของเธอซื้ออาหารสำเร็จรูปแล้ว
แม่
ของเธอ
ซื้อ
แล้ว
อาหาร
สำเร็จรูป







                                                 










อ้างอิง
http://kunkrunongkran.wordpress.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น