วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำกริยา


คำกริยา คือ คำที่แสดงความหมายว่า กระทำ หรือมีอาการ หรืออยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่ง
ตัวอย่าง
-เด็กทอดหมู แสดงความหมายว่า กระทำ
-ต้นถั่วเติบโตเร็ว แสดงความหมายว่า มีอาการ
-หมาตายแล้ว แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ
-ลุงเป็นไข้ แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ
-อากาศเย็นลงแล้ว แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ


คำที่ขีดเส้นใต้ต่อไปนี้เป็นคำกริยา
-ตำรวจจับผู้ร้ายแล้ว
-ยายป้อนข้าวหลาน
-ขนมวางอยู่บนโต๊ะ
-ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
-ระหว่างฤดูร้อนนี้เราพัฒนาหมู่บ้านของเรา
-นักเรียนต้องอ่านหนังสือทุกวันจึงจะดี
-ผมจะศึกษาวิชาคำนวณอย่างถ่องแท้
-อรัญญาร้องเพลงเก่ง
-เป็ดว่ายน้ำได้
-เขาถูกต่อย
-สุนัขถูกรถชน
-คนเจ็บสลบไปแล้ว
-บ้านหลังนั้นทรุดโทรมมาก
-ซีเมนต์แข็งแล้ว
-สุนัขอ้วนขึ้นทุกวัน
-แม่น้ำอะเมซอนกว้างที่สุดในโลก






การใช้คำกริยาในการสื่อสาร
           คำกริยาเป็นคำสำคัญในประโยคภาษาไทย เราอาจละไว้ในที่เข้าใจได้ในประโยคบางชนิด
แต่ความหมายจะปรากฏอยู่เสมอ คำกริยาเป็นส่วนสำคัญของภาคแสดงของประโยค หรือเราอาจ
เรียกว่าตัวแสดงในภาคแสดงก็ได้
นอกจากนั้นกริยาอาจใช้ในประโยคได้อีกหลายอย่าง เช่น

1) กริยาใช้เป็นส่วนขยายของคำนาม
ตัวอย่าง
-คนแต่งตัวสวยเป็นคนน่าดู แต่งตัวสวย ขยายคำนาม คน
-ฉันชอบผู้หญิงตัดผมสั้น ตัดผมสั้น ขยายคำนาม ผู้หญิง
-ฉันชอบขับรถบนถนนตัดใหม่ ตัดใหม่ ขยายคำนาม ถนน


2) กริยาใช้เหมือนคำนาม คือ เป็นประธานหรือกรรมของกริยาอื่นก็ได้
ตัวอย่าง
-กินอาหารตามเวลาช่วยให้สุขภาพดี
-กิน เป็นประธานของกริยา ช่วย
-อ่านทุกวันสร้างสรรค์ปัญญา
-อ่าน เป็นประธานของกริยา สร้างสรรค์
-ฉันไม่ชอบร้องเพลง
-ร้องเพลง เป็นกรรมของกริยา ชอบ
-คนในท้องถิ่นนั้นนิยมฟ้อนรำ
-ฟ้อนรำ เป็นกรรมของกริยา นิยม


ข้อสังเกต
เราอาจเติมคำ การ หน้าคำกริยา จะได้ความเช่นเดียวกัน


ตัวอย่าง
-การเดินตอนเช้าเป็นการออกกำลังกาย
-การอ่านทุกวันสร้างสรรค์ปัญญา
-การกินอาหารตามเวลาช่วยให้สุขภาพดี
-ฉันไม่ชอบการเอาเปรียบ
-คนในท้องถิ่นนั้นนิยมการฟ้อนรำ


                                                        








อ้างอิง


  http://www.st.ac.th/bhatips/7words.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น