ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคที่รวมประโยคความเดียว ๑ ประโยคเป็นประโยคหลัก แล้วมีประโยคความเดียวอื่นมาเสริม มีข้อสังเกตคือ ประโยคหลัก (มุขยประโยค) กับ ประโยคย่อย (อนุประโยค) ของประโยคความช้อนมี น้ำหนังไม่เท่ากัน
ลักษณะของประโยคความซ้อน
๑. เป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว ๒ ประโยคไว้ด้วยกัน และมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม
๒. เมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันแล้ว จะมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากัน ประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคหลัก อีกประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคย่อย
๓. ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็น
- ประธานของประโยค
- กรรมของประโยค
- วิเศษณ์ขยายกริยา หรือวิเศษณ์ของประโยค
- วิเศษณ์ขยายประธานหรือกรรม
ประโยคความซ้อนมี ๓ ประเภท
๑. ประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม (นามานุประโยค) เช่น
๑. ฉันไม่ชอบคนรับประทานอาหารมูมมาม (กรรม)
๒. คนขาดมารยาทเป็นคนน่ารังเกียจ (ประธาน)
๓. ฉันไม่ได้บอกเธอว่าเขาเป็นคนฉลาดมาก (กรรม)
๒. ประโยคความซ้อนที่มีประโยคย่อยทำหน้าที่คล้ายคำวิเศษณ์ขยายคำนามหรือขยายสรรพนาม และมีสันธาน ที่ ซึ่ง อัน เป็นเครื่องเชื่อม เช่น
๑. ท่านที่ร้องเพลงอวยพรโปรดมารับรางวัล
๒. เราหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
๓. ฉันเห็นภูเขาซึ่งมีน้ำขังอยู่ข้างใต้
๓. ประโยคความซ้อนที่มีประโยคหลักและประโยคย่อย และประโยคย่อยนั้น ๆ อาจทำหน้าที่เหมือนคำนามก็ได้ ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ก็ได้ จะมีสันธาน เมื่อ, จน, เพราะ, ตาม, ราวกับ, ให้, ทว่า, ระหว่างที่, เพราะเหตุว่า, เหมือน, ดุจดัง, เสมือน, ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
๑. เพื่อน ๆ กลับไปเมื่องานเลิกแล้ว
๒. ปลัดอำเภอทำงานหนักจนป่วยไปหลายวัน
๓. เธอนอนตัวสั่นเพราะกลัวเสียงปืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น