วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชนิดของคำในภาษาไทย

คำนามในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

  1. สามัญนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ) หรือคำนามทั่วไป คือ คำนามสามัญที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือเป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อยๆของสิ่งต่างๆ เรียกว่า สามานยนามย่อย
  2. วิสามานยนาม (คำนามชี้เฉพาะ) หรือคำนามชี้เฉพาะ คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สถานที่ หรือเป็นคำเรียกบุคคล สถานที่เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนไหน สิ่งใด
  3. ลักษณนาม (คำนามแสดงลักษณะ) คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนามนั้นให้ชัดเจนขึ้น
  4. สมุหนาม (คำนามรวมหมู่) คือ คำนามบอกหมวดหมู่ของสามานยนาม และวิสามานยนามที่รวมกันมากๆ
  5. อาการนาม (คำนามแสดงอาการ) คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ซึ่งมาจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ จะมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า
ข้อสังเกต คำว่า “การ” และ “ความ” ถ้านำหน้าคำชนิดอื่นที่ไม่ใช่คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ จะไม่นับว่าเป็นอาการนาม

หน้าที่ของคำนาม
  • ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
  • ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
  • ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนามอื่น
  • ทำหน้าที่ขยายคำกริยา
  • ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขึ้น
  • ทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน
       



                                                 




อ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น