วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประโยคในภาษาไทย



ประโยค หมายถึง ข้อความที่มีทั้งภาคประธาน และภาคแสดง  มีใจความสมบูรณ์ครบถ้วน รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
ประโยคแบ่งตามจำนวนเนื้อความได้ ๓ ชนิด คือ


๑. ประโยคความเดียว (เอกัตถประโยค) คือประโยคที่มีใจความเดียว คือมีบทประธานบทเดียว และบทกริยาเพียงบทเดียว เช่น 
  • ก้อยเล่นแบดมินตันที่สโมสร
  • รถของคุณแม่เสียบ่อย ๆ
  • เจ้าแต้มสุนัขข้างบ้านจะกัดเจ้าวุ่นของฉัน
  • ฉันกำลังอ่านหนังสือสารคดีด้วยความสนใจ
  • น้อง ๆ ชั้นปีที่ ๑ เชื่อฟังพวกเราพี่ชั้นปี ๒ อย่างดี
ข้อสังเกต ประโยคความเดียว สันธานที่ใช้เชื่อมบทกรรมหรือวิเศษณ์เป็นการเชื่อมคำ







ประโยคความรวม



 ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) 

คือ ประโยคที่รวมประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม เช่น
  • เก่งทำงานบ้านและร้องเพลงเบา ๆ
  • อาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
  • หลานช่วยพยาบาลย่าจึงหายป่วยเร็ว
  • ดีทูบีเป็นนักร้องแต่คัทรียาเป็นดาราภาพยนตร์
  • เธอจะทานผลไม้หรือขนมหวาน

ข้อสังเกต     สันธานใช้เชื่อมประธานหรือกริยาเป็นการเชื่อมประโยค





ประโยคความซ้อน




ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคที่รวมประโยคความเดียว ๑ ประโยคเป็นประโยคหลัก แล้วมีประโยคความเดียวอื่นมาเสริม มีข้อสังเกตคือ ประโยคหลัก (มุขยประโยค) กับ ประโยคย่อย (อนุประโยค) ของประโยคความช้อนมี น้ำหนังไม่เท่ากัน

ลักษณะของประโยคความซ้อน

๑.   เป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว ๒ ประโยคไว้ด้วยกัน และมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม
๒.  เมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันแล้ว จะมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากัน ประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคหลัก อีกประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคย่อย
๓.  ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็น
  • ประธานของประโยค
  • กรรมของประโยค
  • วิเศษณ์ขยายกริยา หรือวิเศษณ์ของประโยค
  • วิเศษณ์ขยายประธานหรือกรรม 







ชนิดของคำในภาษาไทย

คำนามในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

  1. สามัญนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ) หรือคำนามทั่วไป คือ คำนามสามัญที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือเป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อยๆของสิ่งต่างๆ เรียกว่า สามานยนามย่อย
  2. วิสามานยนาม (คำนามชี้เฉพาะ) หรือคำนามชี้เฉพาะ คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สถานที่ หรือเป็นคำเรียกบุคคล สถานที่เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนไหน สิ่งใด
  3. ลักษณนาม (คำนามแสดงลักษณะ) คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนามนั้นให้ชัดเจนขึ้น
  4. สมุหนาม (คำนามรวมหมู่) คือ คำนามบอกหมวดหมู่ของสามานยนาม และวิสามานยนามที่รวมกันมากๆ
  5. อาการนาม (คำนามแสดงอาการ) คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ซึ่งมาจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ จะมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า
ข้อสังเกต คำว่า “การ” และ “ความ” ถ้านำหน้าคำชนิดอื่นที่ไม่ใช่คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ จะไม่นับว่าเป็นอาการนาม

คำสรรพนาม



คำสรรพนาม      คือ คำที่ใช้แทนคำนาม ที่ผู้พูดหรือผู้เขียนได้กล่าวแล้ว หรือเป็นที่เข้าใจกันระหว่าง
ผู้ฟังและผู้พูด เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำ ดังจะเห็นต่อไปนี้

นายสิริเพื่อนของนายประสิทธิ์กล่าวแก่นายประสิทธิ์ว่า..."ระหว่างทางไปโรงเรียน ขอให้นายประสิทธิ์แวะที่วัด เรียนหลวงปู่ของนายสิริ  ด้วยว่า นายสิริขอให้นายประสิทธิ์มารับหนังสือไปให้ครูของนายสิริที่โรงเรียน"
 

ข้อความที่ยกมานี้จะไม่มีใช้ในภาษา ตามปกติใช้แทนชื่อบุคคลที่ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
นายสิริเพื่อของนายประสิทธิ์กล่าวว่า
"ระหว่างทางไปโรงเรียน ขอให้คุณแวะที่วัด เรียนหลวงปู่ของผมด้วยว่า...ผมขอให้คุณมารับหนังสือไปให้ครูของผมที่โรงเรียน"

คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม คือ นายประสิทธิ์และนายสิริ เรียกว่า คำสรรพนาม
ในการสื่อความหมาย (สื่อสาร) ระหว่างบุคคล เราจะมีผู้พูด (หรือผู้เขียน) ผู้ฟัง (หรือผู้อ่าน)
และบุคคลที่เป็นผู้ที่พูดถึงหรือคิดไปถึง
           ผู้พูด คือ บุรุษที่ 1
           ผู้ฟัง คือ บุรุษที่ 2
           บุคคลหรือสิ่งที่กล่าวถึงหรือคิดไปถึง คือ บุรุษที่ 3

เราจะใช้คำสรรพนามแสดงความหมายว่าเป็นบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 หรือบุรุษที่ 3 ได้
ดังจะเห็นต่อไปนี้


คำกริยา


คำกริยา คือ คำที่แสดงความหมายว่า กระทำ หรือมีอาการ หรืออยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่ง
ตัวอย่าง
-เด็กทอดหมู แสดงความหมายว่า กระทำ
-ต้นถั่วเติบโตเร็ว แสดงความหมายว่า มีอาการ
-หมาตายแล้ว แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ
-ลุงเป็นไข้ แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ
-อากาศเย็นลงแล้ว แสดงความหมายว่า อยู่ในสภาพ


คำที่ขีดเส้นใต้ต่อไปนี้เป็นคำกริยา
-ตำรวจจับผู้ร้ายแล้ว
-ยายป้อนข้าวหลาน
-ขนมวางอยู่บนโต๊ะ
-ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
-ระหว่างฤดูร้อนนี้เราพัฒนาหมู่บ้านของเรา
-นักเรียนต้องอ่านหนังสือทุกวันจึงจะดี
-ผมจะศึกษาวิชาคำนวณอย่างถ่องแท้
-อรัญญาร้องเพลงเก่ง
-เป็ดว่ายน้ำได้
-เขาถูกต่อย
-สุนัขถูกรถชน
-คนเจ็บสลบไปแล้ว
-บ้านหลังนั้นทรุดโทรมมาก
-ซีเมนต์แข็งแล้ว
-สุนัขอ้วนขึ้นทุกวัน
-แม่น้ำอะเมซอนกว้างที่สุดในโลก